TOPP PRO RT-Drive DLM408 ดิจิตอลครอสโอเวอร์
โพรเซสเซอร์และออดิโอเมทริกซ์
ลักษณะการทำงานของโพรเซสเซอร์ จะทำหน้าที่ประมวลผลเชิงสัญญาณ ในลักษณะเป็นดิจิตอลครอสโอเวอร์ แยกอินพุต/เอาต์พุตได้อิสระ สามารถทำงานในรูปของเมทริกซ์ได้ กล่าวคือรูปแบบเมทริกซ์นั้นสามารถรับสัญญาณจากอินพุตได้มากกว่าหนึ่งอินพุตเพื่อส่งไปยังเอาต์พุตใดๆ ที่เราต้องการ รวมทั้งในแต่ละอินพุตนั้นสามารถกระจายไปยังเอาต์พุตอื่นๆ ได้เช่นกัน
รูปเมนูหลักของโปรแกรม
ฟังก์ชั่นต่างๆครบครัน
Delay Time
- สามารถตั้งค่า Delay ได้ตั้งแต่ 0-1361.29ms
- สามารถ Save จัดเก็บข้อมูลได้ถึง 24 พรีเซต แต่ละพรีเซตตั้งชื่อได้ยาวถึง 16 ตัวอักษร
Effects มีฟังก์ชันเอฟเฟ็กต์ให้ 2 ตัว คือ GATE และ COMP
Noise Gate
- ค่า Thres (Threshold Range) สามารถตั้งได้ -80dBu ~ +20dB
- ค่า Attack Time สามารถตั้งได้ 10ms ~ 150ms
- ค่า Release Time สามารถตั้งได้ 5ms ~ 2s
- ค่า Ratio สามารถตั้งได้ 1:1 ถึง 10:1
Compressor
- ค่า Thres (Threshold Range) สามารถตั้งได้ -30dBu ~ +20dB
- ค่า Attack Time สามารถตั้งได้ 10ms ~ 150ms
- ค่า Release Time สามารถตั้งได้ 10ms ~ 1s
- ค่า Ratio สามารถตั้งได้ 1:1 ถึง 10:1
EQ
มีภาค EQ ให้ตั้งได้ละเอียดมาก โดยมีให้เลือก 2 รูปแบบคือ GEQ และ EQ ปกติ สำหรับ GEQ ถูกออกแบบมาเพื่อจัดการกับสัญญาณฝั่งเอาต์พุต 1-8 ส่วน EQ สามารถจัดการกับทั้งอินพุต 1-4 และเอาต์พุต 1-8 แบบแยกอิสระ ในส่วนนี้สามารถปรับแต่งผ่านหน้าจอเครื่องได้ สำหรับภาค EQ ยังสามารถปรับย่านความถี่ได้สูงถึง 8 แบนด์ความถี่
DSP Control
หัวใจของเครื่องน่าจะอยู่ที่นี่ ผู้ใช้สามารถปรับแต่งสัญญาณอินพุตและเอาต์พุตผ่านภาค DSP ได้ โดยการเชื่อมต่อ DLM408 ผ่านเราท์เตอร์ไปยังคอมพิวเตอร์ และรันซอฟต์แวร์ DSP ขึ้นมา โดยหน้าตาซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะมีองค์ประกอบด้วยกันหลายส่วน อาทิ ภาค Input DSP, Output DSP, Matrix, Save/Load/Copy และ System
โดยแต่ละชุดฟังก์ชันจะมีส่วนประกอบต่างๆ เหมือนปลั๊กอินเอฟเฟ็กต์ที่เราพบได้ในซอฟต์แวร์ทำเพลง เช่นหน้าต่างพาราเมตริก EQ หน้าต่าง EXP/Gate, COMP และ Input/Output แชนแนล 1-4/1-8 รวมถึงค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่เราสามารถป้อนค่าต่างๆ ได้ จะเห็นว่าส่วนนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้ได้มีความคล่องตัว สะดวกสบายในการใช้งานยิ่งขึ้น
Matrix
สำหรับ Matrix จำเป็นต่องานติดตั้งในระบบเสียงตามสาย หรือไม่ว่าจะเป็นระบบควบคุมเสียง เราสามารถกำหนดช่องสัญญาณที่ต้องการได้ เช่น เราต้องการให้อินพุต 1 ไปออกเอาต์พุต 1-8 ได้ ขณะเดียวกันเราสามารถสั่งให้อินพุต 2 ไปออกเอาต์พุต 1-8 โดยผสมรวมกับสัญญาณอินพุต 1
เราสามารถกำหนดให้อินพุต 1 ไปออกเอาต์พุต 2 หรือเอาต์พุต 4, 6, 8 หรืออินพุต 3 สามารถส่งไปออกเอาต์พุต 3,4,5,6,7,8 ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของ System Engineer ว่าอยากให้ระบบเสียงเป็นแบบไหน
ปกติระบบทั่วไป ถ้าอินพุตมากกว่า 2 แหล่งถูกส่งไปเอาต์พุตเดียวกัน อาจจะเกิดปัญหาการหักล้างทางเฟสของสัญญาณ แต่กรณีระบบ Matrix จะไม่เกิดปัญหานั้น
สำหรับระบบ Matrix ในหนึ่งเอาต์พุตสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง 4 อินพุต โดยทั้ง 4 อินพุตสามารถส่งเข้ามาพร้อมกันได้ หลักการน่าจะคล้ายกับมิกเซอร์ดิจิตอล โดยสัญญาณดังกล่าวจะไม่ถูกลดทอนใดๆ